ถึงพ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบแหลมมลายู ระยะทางที่เสด็จไปครั้งนั้น ทรงเรือสุริยมณฑล (ลำแรก) เป็นเรือพระที่นั่งไปจากกรุงเทพ แล้วทรางช้างพระที่นั่งเสด็จทางสถลมารคจากเมืองชุมพร ข้ามแหลมมลายูไปลงเรือที่เมืองตระบุรี เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศออกไปคอยรับเสด็จอยู่ที่เมืองระนอง เสด็จตรวจหัวเมืองในพระราชอาณาเขต แล้วผ่านไปในเมืองมลายูของอังกฤษ ประทับที่เมืองเกาะหมาก เมืองสิงค์โปร์ ขาเสด็จกลับเสด็จทอดพระเนตรหัวเมืองมลายูและหัวเมืองไทยทางปักษ์ใต้ตลอดมา ในตราวเสด็จเลียบมณฑลครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องระยะทาง เป็นพระราชเลขาพระราชทานมาถึงเสนาบดีซึ่งรักษาพระนคร(หอสมุด ได้รวมพระราชหัตถเลขาคราวนั้นเข้าเป้นหนังสือ เสด็จประพาสแหลมมลายู พิมพ์เมื่อพ.ศ.2465 ) ในพระราชหัตถเลขาทรงพรรณาและพระราชทานพระบรมราชาธิบายว่าด้วยเมืองระนองในสมัยเมื่อเสด็จในครั้งนั้น เป็นเรื่องตำนานถ้วนถี่พิศดาร (อนุสาวรีย์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง)เจ้าเมืองระนอง,ปราโมทย์- สุวรรณี ณ.ระนอง)
พระราชนิพนธ์ว่าด้วยเมืองระนอง เล่าถึงการเสด็จตั้งแต่โดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพร มาประทับแรมคืนที่พลับพลาดอนวังทู้หมู่ที่ 1 ตำบลปากจั่น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2433 จนกระทั่ง วันที่ 27 เมษายน เวลา 11 ทุ่ม ออกเรือเดินทางช่องว่างระหว่างเกาะเสียงไห(สินไห)และเกาะช้าง ในแผนที่ เขียนว่าแสดดัลไอส์แลนด์ ในแต่ละวันทรงบันทึกเล่าเรื่องระนอง ไว้อย่างละเอียด
0 ความคิดเห็น :
โพสต์ความคิดเห็น